15 พ.ย. 2020 เวลา 23:30 • สุขภาพ
ทำไมเราถึงชอบนั่งเขย่าขา?
ทำอย่างไรไม่ให้เขย่าขา?
2
ทำไมเราถึงชอบนั่งเขย่าขา?
อาการเขย่าขา หรือ สั่นขา (Leg Shaking)
เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ดังนี้...
1
- ความเบื่อ
เมื่อคนเรารู้สึกเฉื่อยชา เอื่อยเฉื่อย มันเป็นสัญญาณที่บอกได้ว่า ร่างกายและจิตใจของเราไม่ได้ถูกกระตุ้นจากการทำกิจกรรมที่ทำอยู่ เลยเขย่าขาเพื่อคลายความเบื่อ
13
- กำลังใช้สมาธิ
การเขย่าขาอาจจะหมายถึงว่าเรากำลังจดจ่อที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่
6
- ความวิตกกังวล
บางคนจะแสดงออกเพื่อลดความวิตกกังวล
1
- แอลกอฮอล์
การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป จะทำให้ระดับโดพามีน (Dopamine) ผิดปกติ ส่งผลต่อความบกพร่องในการเคลื่อนไหวอวัยวะต่าง ๆ เช่น การเขย่าขา
1
- มีปัญหาเกี่ยวกับไทรอยด์
ไทรอยด์จะมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ควบคุมระบบการเผาผลาญ ถ้าร่างกายมีฮอร์โมนนี้มากเกินไป จะส่งผลให้เกิดการกระตุกหรือการเขย่าอวัยวะ
2
- โรคพาร์กินสัน
โรคทางสมองมีผลโดยตรงต่อการเคลื่อนไหว เนื่องจากโดพามีน (Dopamine) ถูกทำลายทำให้เกิดการเคลื่อนไหวผิดปกติ เกิดอาการสั่น กระตุก หรือมีอาการเขย่าขา
- โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis) หรือโรคเอ็มเอส (MS) เกิดจากเส้นประสาทในสมองและไขสันหลังถูกทำลาย ส่งผลต่อการเคลื่อนไหว ทำให้มีอาการเขย่าของกล้ามเนื้อ
1
- เส้นประสาทถูกทำลาย
เส้นประสาทจะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ และเคลื่อนไหว หากเส้นประสาทถูกทำลายก็จะมีผลต่อการเคลื่อนไหวและอาจเกิดการกระตุกหรือการเขย่าขึ้นได้
- อาการอยู่ไม่สุข
อาการนี้จะเกิดขึ้นตอนกลางคืนขณะนอนหลับ จะมีการเขย่าขาหรือแขนแบบที่ไม่สามารถควบคุมได้
5
ทำอย่างไรไม่ให้เขย่าขา?
- เปลี่ยนอิริยาบถ
หากเรานั่งหรือยืนนาน ๆ โดยไม่เปลี่ยนท่าทางก็อาจจะทำให้เกิดความเมื่อยล้าได้ จนเผลอเขย่าขา ดังนั้นเราจึงต้องเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อลดอาการเมื่อยล้าลงได้
3
- จัดการกับความเครียดของตนเอง
บางครั้งคนเราจะเขย่าขาในขณะที่กำลังเครียดอยู่ เราจึงต้องจัดการกับความรู้สึกนั้นเพื่อช่วยลดการเขย่าขาได้
- หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เขย่าขา
เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากมีผลต่อระดับของโดพามีน (Dopamine) ที่ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
1
- การนวด
อาการเขย่ายาอาจเกิดจากความเมื่อยล้าก็ได้เช่นกัน การนวดเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยลดอาการเขย่าขา
1
- การยืดหยุ่นร่างกาย
การทำกิจกรรมที่เน้นการยืดหยุ่นร่างกายและมีการผสมผสานการกำหนดลมหายใจกับการยืดร่างกาย เช่น โยคะ พิลาทิส นั่งสมาธิ มีส่วนช่วยลดอาการเขย่าหรืออาการสั่นได้
- ยารักษา
ยารักษาโรคบางชนิดมีส่วนช่วยยับยั้งอาการสั่นหรือเขย่าของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ยาป้องกันการชัก (Anti seizure drug) ยาต้านการติดเชื้อ หรือยาที่มีฤทธิ์กล่อมประสาท
- การผ่าตัด
แพทย์อาจพิจารณาให้มีการผ่าตัดหากประเมินแล้วว่าสามารถทำได้ โดยอาจเป็นการผ่าตัดสมอง หรืออวัยวะอื่น ๆ ที่จะช่วยลดโอกาสในการเกิด อาการเขย่าขา หรืออาการสั่นต่าง ๆ
2
เมื่อไรควรไปพบหมอ?
โดยทั่วไป...
อาการเขย่าขา หรือ สั่นขา ไม่ถือว่าเป็นปัญหาทางสุขภาพที่รุนแรงหรืออันตราย แต่หากพฤติกรรมดังกล่าวส่งผลต่อการใช้ชีวิต เช่น ก่อให้เกิดความรำคาญ และมีภาพลักษณ์ที่ดูไม่ดีทั้งต่อตนเอง และต่อผู้อื่น อาจหาเวลาไปพบคุณหมอเพื่อรับคำแนะนำ และวิธีรักษาต่อไป
3
#สาระจี๊ดจี๊ด
รายการทีวีญี่ปุ่น นำคนที่ชอบมีอาการแปลก ๆ เวลานั่ง เช่นนั่งกระดิกเท้า หรือชอบหมุนปากกาเล่น หรือชอบจับผม ลูบผมเล่นเอามานั่งทำข้อสอบ
- รอบแรก : จะกระดิก จะจับอะไรก็ตามใจ ทำข้อสอบไปด้วยความปกติ
- รอบที่ 2 : จับมัดขากับขาโต๊ะ ห้ามไม่ไห้หมุนปากกา ห้ามจับผม ทุกคนเกิดอาการเครียด ไม่รีแลกซ์
- ผลลัพธ์การทำข้อสอบรอบที่ 2 ผลสอบออกมาไม่ดี เหมือนกับรอบแรก เป็นไปได้ว่า ได้ทำอะไรตามใจแล้วอุ่นใจ สมองแล่น
7
#สาระจี๊ดจี๊ด
คนฮ่องกงจะไม่กระดิกขา หรือกระดิกเท้า เพราะเชื่อว่าทำให้เงินไหลออก (เป็นความเชื่อส่วนบุคคล)
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
พิสูจน์อักษรโดย วาลีพ
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา